พฤติกรรมที่เป็นอุปสรรคสำหรับการวางแผนทางการเงิน

มนุษย์เงินเดือนถือว่าเป็นกลุ่มคนที่สามารถวางแผนการเงินได้ง่ายที่สุด
เพราะมีรายได้สม่ำเสมอและรู้อัตราการเพิ่มรายได้ที่แน่นอน
แต่ในความเป็นจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น…นั่นเป็นเพราะอะไรหรือ???
ตั้งแต่ปี 1980 มีวิชาแขนงใหม่เกิดขึ้น แต่ถ้าในประเทศไทยตอนนี้อาจจะเป็นเรื่องใหม่(2014)
วิชานี้ชื่อว่า การเงินพฤติกรรม (bahavioral finance)
คือวิชาที่ผสมผสานระหว่าง จิตวิทยากับเศรษฐศาสตร์ มุ่งเน้นทำความเข้าใจกับความผิดผลาดเรื่องการเงินของมนุษย์
ข้อค้นพบหลักๆของการเงินเชิงพฤติกรรม คือ
1.ความเฉื่อย (inertia)
2.ความรังเกียจการสูญเสีย (loss aversion)
3.ขาดการมองการณ์ไกล (Myopai)

1.ความเฉื่อย (inertia)
พื้นฐานของมนุษย์เป็นคนผลัดวันประกันพรุ่ง ความเฉื่อยจึงเป็นปัญหาของการวางแผนการเงิน
ถ้าต้องการจะเริ่มต้นอะไรสักอย่าง ก็จะเริ่มจากคำพูดที่ว่า
เดี๋ยวพรุ่งนี้จะเริ่มออม ฉันจะไม่ใช้เงินสิ้นเปลือง ฉันจะ…..
แต่ วันนั้นมาไม่ถึงซักที พฤติกรรมนี้นักวางแผนการเงินรู้และเข้าใจเป็นอย่างดี
จึงมีการส่งเสริมการออมภาคบังคับขึ้นมาโดยหักจากเงินเดือนทันที
เพื่อป้องกันความเฉื่อยของมนุษย์นั่นเอง
และระยะหลังๆ เราจะเริ่มได้ยินคำว่า ออมก่อน เงินที่เหลือค่อยนำมาใช้
หรือ รวยด้วยระบบอัตโนมัติขึ้น
ซึ่งวิธีการดังกล่าวมาช่วยแก้ไขความเฉื่อยของมนุษย์นั่นเอง
วิธีการเหมือนกับการออมภาคบังคับคือ
เราเปลี่ยนสมการการออมจาก
รายรับ – รายจ่าย = เงินออม เป็น
รายรับ – เงินออม = รายจ่าย
จากการปฏิบัติดังกล่าวผลปรากฏว่ารายจ่ายของเหล่ามนุษย์เงินเดือนก็ยังพอใช้อยู่ดี
2.ความรังเกียจการสูญเสีย (loss aversion)
จากสถิติคน 89% ปัจจุบันคิดว่าการวางแผนการเงินเป็นเรื่องความสำคัญ
แต่อัตราการออมกลับไม่ดีเท่ากับการให้ความสำคัญ
นั้นเป็นเพราะ มนุษย์เห็นการออม เท่ากับ สูญเสีย
สมมุติว่า เราได้เงินมาฟรีๆ 5 บาทเราจะรู้สึกดีใจ แต่ความรู้สึกของเราจะต่างออกไป
ถ้าเราได้เงินมา 20 บาทฟรีๆ แต่ไม่นานเราเสียเงินในมือ 15 บาทเรากลับรู้สึกเสียใจ
ทั้งๆที่เงินในมือเรามีค่าเท่ากัน แต่2เหตุการณ์สร้างความรู้สึกที่ต่างกัน
ถ้าใครรู้สึกว่าการออมไม่เป็นการสูญเสียเมื่อไร นั้นคือก้าวแรกในการวางแผนการเงิน
3.ขาดการมองการณ์ไกล (Myopai)
การขาดเป้าหมายคือสิ่งสำคัญที่สุดในการวางแผนการเงิน
คนส่วนใหญ่ไม่มีเป้าหมายในการวางแผนการเงิน ไม่รู้ว่าควรมีเป้าหมายอะไร
มนุษย์เงินเดือนที่ใช้เงินหมดเดือนชนเดือน อยากได้อะไรก็ซื้อ
หลายๆคนอาจมีเป้าหมายบ้างแต่เป็นเป้าหมายระยะสั้น เช่นเก็บเงินเพื่อท่องเที่ยว ซื้อของ
แต่เป้าหมายที่สำคัญพื้นฐานไม่ได้คิดไว้ หลายคนพอเห็นความสำคัญ อาจจะสายเกินไปก็เป็นได้
เช่น วางแผนเกษียญ วางแผนสุขภาพหลังเกษียญ เป็นต้น
เป้าหมายพื้นฐานที่ควรมีได้แก่ วางแผนเกษียญ วางแผนป้องกันรายได้ วางแผนสุขภาพ วางแผนการศึกษาบุตร วางแผนการลงทุน
เมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ววิธีการต่างๆมันจะมาเอง
ความสำเร็จของการวางแผนการเงิน 70 % คือความชัดเจนและแน่แน่วกับเป้าหมาย ส่วนเรื่องวิธีการนักวางแผนการเงินประเมินว่ามีความสำคัญความสำคัญเพียง 30 %
ผมเชื่อว่าถ้าเข้าใจความผิดพลาดทั้ง 3 ข้อแล้ว การวางแผนการเงินก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปครับ

20140606-012410-5050719.jpg

#วางแผนการเงินง่ายนิดเดียว #การเงินพฤติกรรม #bahavioralfinance #ความเฉื่อย #inertia
#ความรังเกียจการสูญเสีย #loss aversion #ขาดการมองการณ์ไกล #Myopai

LEAVE REPLY

Your email address will not be published. Required fields are marked *