วิธีคำนวณทุนประกันชีวิตที่จำเป็นและเหมาะสมเฉพาะสำหรับคุณนั้นมีหลากหลายวิธี โดยวันนี้จะมาแนะนำวิธีคำนวณอย่างง่ายกัน วิธีที่1 คำนวนทุนประกันชีวิตตามมูลค่าตามเศรษฐกิจของบุคคลอย่างง่าย (Human life Value) แนวคิดนี้คือนำรายได้ที่บุคคลคนนั้นสามารถหาได้ มาตีมูลค่าเป็นทุนประกัน เช่น อายุ 35 ปีมีรายได้ 50,000 บาทต่อเดือน วิธีคำนวณทุนประกันอย่างง่ายก็คือ ใช้เงินเดือนที่สามารถหาได้ทั้งหมดของชีวิตของบุคคลนั้นๆ ในกรณีที่เกษียณอายุ 60 ปี = (50,000 x 12) x (60-35) = 15,000,000 บาท วิธีที่ 2 คำนวณทุนประกันตามความจำเป็น วิธีนี้คำนวณตามความต้องการของบุคคลคนนั้นโดยหลักๆที่จำเป็นคือ ทุนประกันไว้ใช้เป็นค่าใช้จ่ายสุดท้าย คือค่าพิธีงานศพ ในปัจจุบันอยู่ที่ 200,000-700,000 บาท ทุนประกันไว้ใช้สำหรับคุ้มครองรายได้ในการปรับตัว ตัวเลขพื้นฐานคือคำนวนจากรายได้สุทธิ 5 ปี ทุนประกันไว้ใช้สำหรับคุ้มครองหนี้สินทั้งหมด – ทุนประกันไว้ใช้สำหรับกองทุนการศึกษาบุตร นำยอดทุนประกันของทั้ง 4 มารวมกันจะได้ทุนประกันที่จำเป็น หรือวิธีการจำง่ายๆคือ DIME D = Died I = […]
วันนี้เราจะมาเรียนรู้โครงสร้างหลักๆของประกันชีวิต เพื่อทำความเข้าใจสาระสำคัญและสร้างความคุ้มครองที่เหมาะสมเฉพาะสำหรับตัวคุณ โดยประกันชีวิตมีส่วนสำคัญแบ่งออกเป็น ทุนประกันชีวิต คือจำนวนเงินประกันที่เราได้ทำสัญญาไว้กับบริษัทประกัน เบี้ยประกัน คือจำนวนเงินที่เราต้องจ่ายให้กับบริษัทประกัน ซึ่งปกติแล้วเบี้ยประกันชีวิตประกอบด้วย 1.อัตรามรณะ (Coi) 2.ค่าดำเนินการ และ3.ผลตอบแทน เบี้ยประกันชีวิตเปรียบเทียบได้คือราคาขายของสินค้าชิ้นหนึ่ง ซึ่งประกอบ2ส่วนหลัก นั้นคือส่วนของต้นทุน กับ กำไรนั่นเอง ต้นทุนของประกันก็คือ อัตรามรณะ (Coi) ของผู้เอาประกัน + ค่าดำเนินการของบริษัท เบี้ยประกัน = (อัตรามรณะ (Coi) + ค่าดำเนินการ) + ผลตอบแทน ราคาสินค้า = ต้นทุน + ผลตอบแทน ด้วยเหตุนี้เบี้ยประกันภัยแต่ละแบบจึงต่างกัน เพราะมีการผสมองค์ประกอบที่แตกต่างกันไป เช่น 1.ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลาจะมีเบี้ยประกันภัยต่อทุนประกันเท่ากับ 1 เปอร์เซ็นต์ 2.ประกันชีวิตแบบตลอดชีพจะมีเบี้ยประกันภัยต่อทุนประกันเท่ากับ 1.5-3 เปอร์เซ็นต์ 3.ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เบี้ยประกันภัยต่อทุนประกันเท่ากับ 5-20 เปอร์เซ็นต์ ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลานี้จะไม่มีส่วนค่าผลตอบแทน มีส่วนต้นทุนเพียงอย่างเดียวหรือที่เราเรียกกันว่าเบี้ยจ่ายทิ้ง ส่วนเบี้ยที่มากกว่าของประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์นั้นก็คือส่วนของผลตอบแทนที่บริษัทประกันนำไปลงทุนและนำมาจ่ายผลตอบแทนคืนนั่นเอง หากเราเข้าใจองค์ประกอบของประกันแล้วประกันจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
แรกเริ่มเรียนรู้ทำความรู้จักประกันชีวิต หลายคนคงสงสัยว่าประกันชีวิตมีกี่แบบและแต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร วันนี้เราจะมาทำความรู้จักแบบประกันชีวิตหลักๆที่ได้รับความนิยมในประเทศไทยให้เข้าใจกันแบบง่ายๆ ประกันชีวิตที่นิยมหลักๆมี 5 แบบด้วยกันคือ 1.ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา คือประกันชีวิตที่มีระยะเวลากำหนด เช่น 5 ปี หรือ10 ปี เป็นต้น 2.ประกันชีวิตตลอดชีพ คือประกันชีวิตที่มีระยะเวลาตลอดชีพ จะได้รับผลประโยชน์เมื่อเสียชีวิตเท่านั้น หรือเมื่อถึงอายุ 99 ปี 3.ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ คือประกันชีวิตที่มีเงินคืนตามระยะเวลาที่กำหนด 4.ประกันชีวิตแบบบำนาญ คือประกันชีวิตที่บริษัทจะจ่ายเงินเป็นงวดๆให้กับผู้เอาประกันภัย เหมือนเงินบำนาญในยามที่เกษียณแล้ว 5.ประกันชีวิตควบการลงทุน (unit link) คือประกันชีวิตที่สามารถนำเงินผลตอบแทนไปลงทุนในกองทุนที่บริษัทคัดเลือกไว้ โดยผู้เอาประกันภัยรับความเสี่ยงในส่วนของผลตอบแทนเอง ซึ่งโดยปกติตามกฎหมายบริษัทประกันไม่สามารถนำเงินผลตอบแทนไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงได้ เช่นหุ้นหรือกองทุนได้ ประกันควบการลงทุนก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่มีความรู้และเข้าใจเรื่องการลงทุน ประกันทุกแบบล้วนมีประโยชน์ตามหน้าที่และเงื่อนไขที่กำหนด แต่แบบไหนที่จะเหมาะกับคุณขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเพื่อใช้ในการปกป้องความเสี่ยงของชีวิตคุณ
ถ้าชาวประมงใช้ดาวเหนือในการนำทาง คุณก็สามารถใช้หลักการตั้งเป้าหมายแบบ S.M.A.R.T เพื่อเป็นดาวเหนือทางการเงินของคุณ วิธีการตั้งเป้าหมายแบบ S.M.A.R.T นั้นคือการกำหนดเป้าหมายเพื่อยกระดับทักษะความสามารถส่วนตัว ผลการทำงาน หรือแม้แต่คุณภาพชีวิตทางการเงินของคุณ โดยหลักการนั้นประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ S-Specific เป้าหมายของคุณต้องชัดเจน ว่าคุณต้องการทำอะไร ทำไมจึงต้องทำสิ่งนี้ หรือต้องทำอย่างไร M-Measurable เป้าหมายนี้ต้องสามารถประเมินผลได้ A-Achievable เป้าหมายนี้ต้องมีความท้าทาย แต่ไม่เกินทักษะความสามารถของคุณ R-Results-focus มุ่งสู่ผลลัพธ์ตามเป้าหมาย ไม่ใช่กิจกรรมที่นำไปสู่เป้าหมาย T-Time bound มีกำหนดกรอบเวลาในการบรรลุเป้าหมาย ด้วยการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่เกินความจริง ท้าทายและสร้างกรอบเวลาให้กับตัวเองเช่นนี้ ทำให้คุณสามารถเดินทางสู่เป้าหมายได้อย่างเชื่อมั่น มั่นคง และตรวจสอบผลได้ จากเป้าหมายเล็กๆอย่างการพัฒนาความรู้ อาจก้าวสู่การพัฒนาในหน้าที่การงาน และนำคุณสู่เป้าหมายที่สำคัญอย่างอิสรภาพทางการเงิน