ทำไมคนเราต้องวางแผนการเงิน ?
เหตุผลง่ายๆ2ข้อ
1. อัตราเงินฝากในธนาคารลดลง
2. เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น
ปัจจุบันอัตราเงินฝากอยู่ที่0.75% ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่2%
แต่อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 3% (จริงๆเงินเฟ้อที่แท้จริงมากกว่าตัวเลขนี้มากสังเกตุจากสิ่งของต่างๆรอบๆตัว)
การฝากเงินไม่ตอบโจทย์ของชีวิต
ยิ่งฝากเงินยิ่งจนลง…
คุณเชื่อไหมว่าเงินมีชีวิต? เงินถ้าได้รับการปฎิบัติอย่างดี จะอยู่กับคนนั้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราปฏิบัติกับเงินไม่ดี คนๆนั้นก็จะไม่มีเงิน เบี้องหลังความลับ ของคนที่เก็บเงินไม่อยู่ หรือไม่มีความสามรถในการหาเงิน คือคนๆนั้นไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องเงิน มีนักบัญชีท่านหนึ่งชื่อว่า คะเมะดะ จุนอิชิโร ผู้ซึ่งรู้ความลับนี้ จากการสังเกตุ กระเป๋าสตางค์และการใช้เงินของเศรษฐีทั้งหลายที่เป็นลูกค้าของเขา เศรษฐีทั้งหลายนั้น ล้วนเชื่อว่าเงินมีชีวิต เขาทั้งหลายเหล่านั้น มีความสามารถในการหาเงิน และความสามารถในการควบคุมเงินได้อย่างดี นิสัยของคนหาเงินเก่งจะจู้จี้จุกจิกทุกเรื่องที่เกี่ยวกับเงินและเขาจะไม่ดูถูกเงิน และสิ่งที่ คะเมะดะ พบอีกสิ่งหนึ่งคือ กระเป๋าสตางค์ของคนที่มีความสามารถในการหาเงินจะแตกต่างจากคนทั่วไป กระเป๋าสตางค์กับเจ้าของมีอำนาจบางอย่าง และเขาได้ตั้งกฎ200เท่า เกี่ยวกับกระเป๋าสตางค์ไว้โดย ให้เอาราคากระเป๋าสตางค์ คุณกับ 200 ตัวเลขนี้จะเท่ากับ รายได้ต่อปีของเจ้าของ คะเมะดะ ได้บอกไว้ว่าหากคุณต้องการหลักฐานข้อเท็จจริงทางวิทยาศาตร์ เขาไม่อาจจะตอบได้อย่างชัดเจน แต่สิ่งที่เขารู้มันได้ผล สิ่งที่จะสามารถอธิบายที่สิ่งต่างๆที่เขารู้ได้ใกล้เคียงที่สุดคือเรื่อง จิตใต้สำนึก คนที่กล้าที่จะซื้อกระเป๋าสตางค์ใบละหลายหมื่นได้ ตัวของเขาเองต้องมีความกล้าในการตัดสินใจอยู่บ้าง และจิตใต้สำนึกของเขาจะปรับพฤติกรรมในการสร้างรายได้ให้มากกว่าหรือเท่ากับ 200เท่าของราคากระเป๋าสตางค์ สิ่งต่างๆเหล่านี้ความรู้ทางการเงินฝั่งตะวันตกมีการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการเงินและการทดลองไว้อย่างมากมาย เกี่ยวกับของผิดพลาดของมนุษย์ที่มีต่อการใช้เงินและการลงทุน เช่น กลัวความสูญเสีย ความผิดพลาดในการใช้จุดอ้างอิง ความเฉี่อย ขาดการมองการไกล เป็นต้น ลองสำรวจเล่นๆนะครับว่า เมื่อเอาราคากระเป๋าสตางค์ของคุณคูณ200แล้วจะได้เท่ากับรายได้ต่อปีหรือเปล่า ? […]
ข้อมูลที่น่าสนใจของ gen z
วางแผนเก็บเงินเกษียณตั้งแต่ชีวิตทำงาน
ทำไมคนส่วนใหญ่ถึงล้มเหลวทางการเงิน
เป็นคำถามแรกๆที่ผมต้องใช้เวลาครุ่นคิด เมื่อผมได้เข้ามาสู่อาชีพที่ปรึกษาทางการเงิน…
องค์ประกอบความสำเร็จมี3ข้อด้วยกันคือ
1 ความสามารถในการหาเงิน
2 ความสามารถในการออม
3 ความสามารถในการเลือกใช้เครื่องมือทางการเงิน
[…]